บล็อกของผู้เยี่ยมชมกับ Simon Birkett

Simon Birkett เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริษัท Clean Air in London มีแคมเปญที่จะปฏิบัติตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก เรื่องคุณภาพอากาศในกรุงลอนดอนและที่อื่นๆ

Clean Air in London& ndash; ภายในและภายนอก

ภายหลังจากการทำงานเป็นเวลานานที่ HSBC ฉันได้ก่อตั้งบริษัท‘Clean Air in London’ (CAL) เมื่อปี 2006 โดยมีภารกิจที่จะบรรลุการปฏิบัติตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เรื่องคุณภาพอากาศในกรุงลอนดอนและที่อื่นๆ

วิธีการของแคมเปญrsquo;&ต่างๆ จะมุ่งเป้าไปที่คุณภาพอากาศในกรุงลอนดอนและ‘เหนือขึ้นไป’ ซึ่งหมายความว่า CAL ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมใน‘เสียงรบกวน’ หรือเมืองอื่นๆ เป็นต้น และได้มุ่งเน้นความพยายามทั้งหมดในการโน้มน้าวและสนับสนุนนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน รัฐบาลสหราชอาณาจักร คณะกรรมาธิการยุโรป และรัฐสภายุโรป องค์การอนามัยโลก และสหประชาชาติ ในรูปแบบที่จะส่งผลดีต่ออากาศของกรุงลอนดอน’ และสนับสนุนให้เมืองอื่นๆ ดำเนินการตาม

จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในปี 2012 เมื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอนดอนได้นำมลพิษทางอากาศเป็นหัวข้อสำคัญที่ดึงความสนใจทั้งในและต่างประเทศ แคมฟิลเป็นผู้ที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เมื่อแคมฟิลได้เสนอตัวเป็นผู้สนับสนุนหลักของ CAL’ ในปี 2011 โดยประสงค์ที่จะสนับสนุนแคมเปญสร้างความเข้าใจกับสาธารณะเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร ความร่วมมือที่ทรงพลังนี้เริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นเรื่อยๆ

มันเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับคนที่ใส่ใจเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร ไฮไลท์สำคัญจากกรุงลอนดอน ได้แก่

การประชุม Knightsbridge Neighbourhood Forum

การใช้ประโยชน์จากความมุ่งมั่นในเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคารของฉัน, Knightsbridge Neighbourhood Forum (ซึ่งฉัน ’เป็นประธานการประชุม) ได้รวบรวมนโยบาย ‘อากาศที่ดีต่อสุขภาพ ’ เป็น Knightsbridge Neighbourhood Plan (the Neighbourhood Plan) และได้เสนอแผนนี้ต่อสภาเทศบาลเมืองเวสต์มินสเตอร์ (เวสต์มินสเตอร์) เมื่อพฤศจิกายน 2017 การหารือระดับสาธารณะในเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม นโยบาย‘อากาศที่ดีต่อสุขภาพ’ ประกอบด้วย

“การพัฒนาใหม่และการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญของอาคารที่มีอยู่ที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า อาคารถูกออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นไปตามแนวทางล่าสุดของ WHO สำหรับคุณภาพอากาศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5  และ PM10) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ฟอร์มัลดีไฮด์และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และควรคำนึงถึงความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของอากาศภายในอาคารด้วย”

การให้เหตุผลสนับสนุนของนโยบาย’ อธิบาย ดังนี้

“สาธารณสุข สามารถได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นได้โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ดีที่สุดสำหรับคุณภาพอากาศภายในอาคารเนื่องจากคนทั่วไปมักใช้เวลาประมาณ 90% ของเวลาทั้งหมดภายในอาคาร จะทำเช่นนี้ได้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างการถ่ายเทอากาศโดยใช้เครื่องมือ การปรับอากาศและการกรองอากาศ มาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับการเลือกเครื่องกรองอากาศที่ประหยัดพลังงานประกอบด้วย BS 16798-3:2017 ซึ่งใช้ ISO 16890 (สำหรับฝุ่นละออง) รวมถึง ePM1  และ ISO 10121 (สำหรับก๊าซ) มาตรฐานเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซ&คาร์บอนไดออกไซด์nbsp; หากการกรองอากาศถูกใช้ในการพัฒนาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร จะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้เช่าเกี่ยวกับประเภทของการกรองอากาศที่ใช้ สถานที่ และวิธีการบำรุงรักษา ”

Neighbourhood Plan ยังเสนอให้สร้าง‘ อาคารที่ปล่อยมลพิษทางอากาศเป็นศูนย์ ’ เมื่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารเหล่านั้น โดยพื้นฐานแล้ว อาคารไฟฟ้าทั้งหมดที่ปล่อยเพียงแค่อากาศถ่ายเทและควันจากการทำอาหาร อาคารเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระดับสูงและใช้พลังงานหมุนเวียนที่สร้างขึ้นทั้งจากทั้งในและนอกอาคาร

ขั้นตอนสุดท้าย ได้แก่ การหารือในระดับสาธารณะเกี่ยวกับ Neighbourhood Plan การทดสอบการวางแผน และการทำประชามติของผู้อยู่อาศัยในการเลือกตั้งที่ Knightsbridge หากเป็นไปตาม Neighbourhood Plan จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาของ Knightsbridge ภายในช่วงฤดูร้อนปี 2018 พร้อมๆ กับนโยบายที่ได้วางไว้สำหรับเวสต์มินส์เตอร์ ’

Clean Air in London

นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนคนใหม่ได้ทำให้ประเด็นมลพิษทางอากาศเป็นหนึ่งในสองประเด็นหลักควบคู่กับเรื่องที่อยู่อาศัยภายในเดือนพฤษภาคม 2016 คำแถลงนโยบายทางการเมืองช่วงเลือกตั้งของนาย Sadiq Khan’ ได้ระบุสิ่งที่เขาให้ความสำคัญ ซึ่งรวมถึง ‘การฟื้นฟูคุณภาพอากาศในกรุงลอนดอนให้อยู่ในระดับที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย’ นับเป็นวิสัยทัศน์ที่ทะเยอทะยาน เนื่องจากรายงานที่ตีพิมพ์โดย Greater London Authority เมื่อเดือนตุลาคม 2017 หัวข้อ ความเข้มข้นของ‘PM2.5 และโอกาสเสี่ยงต่อการสัมผัสในกรุงลอนดอน ’ พบว่า ชาวลอนดอน 7.9 ล้านคน – หรือเกือบ 95% ของประชากร’ทั้งเมือง– อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าความเข้มข้นรายปีของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่ 50% หรือมากกว่า ซึ่งเกินกว่าค่าที่ WHO กำหนด มีการคาดการณ์ว่า WHO จะอัพเดตและแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้อย่างเคร่งครัดมากขึ้นในปี 2019

ในเดือนธันวาคม 2017 ฉันรู้สึกยินดีที่ได้ตอบรับคำเชิญพูดกับสมาคม Building Engineering Services Association’ (กลุ่ม BESA) ในประเด็น ‘ สุขอนามัยการระบายอากาศและคุณภาพอากาศภายในอาคาร’ การนำเสนอนี้ เน้นโอกาสที่จะได้รับจากระบบการวางแผนที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคาร BESA มุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกันกับ Chartered Institution of Building Services Engineers (CIBSE) ในการพัฒนาแนวทางแห่งชาติเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร Peter Dyment จากแคมฟิล ยังได้นำเสนออย่างดีเยี่ยมเกี่ยวกับมาตรฐานใหม่ที่ระบุใน Knightsbridge Neighbourhood Plan

ฉันยังคงกดดันนายกเทศมนตรีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ได้ถูกผนวกรวมใน London Plan ฉบับใหม่ และสนับสนุน Knightsbridge Neighbourhood Plan (รวมถึงการลดมลพิษทางอากาศจากแหล่งที่มาและภายในอาคาร)

ในระดับชาติ เมื่อพฤศจิกายน 2017 CAL ได้นำเสนอหลักการสำหรับกฎหมายว่าด้วยอาการสะอาด (Clean Air Act) ที่ได้กล่าวถึงการเพิ่มบทบาทของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม (หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่คล้ายกัน) ให้ทบทวนกฎระเบียบและอำนาจในการนำเสนอมาตรการต่างๆ ที่จะควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

เมื่อเดือนมีนาคม 2015 ฉันได้เข้าร่วมกลุ่มแกนนำเพื่อขับเคลื่อนรายงานสิ่งแวดล้อมประจำปีครั้งที่หกของสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อม (GEO6) ’ ที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 4 ณ กรุงไนโรบี มีนักวิทยาศาสตร์กว่า 1,000 คนที่ได้ร่วมทำงานในรายงานฉบับนี้

สี่เป้าหมายที่ฉันให้ความสำคัญและต้องบรรลุให้ได้ ได้แก่ ความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อพัฒนาสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม; ความสำคัญของการพิจารณา ‘One Atmosphere’ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศทั้งในและภายนอกอาคาร; ธรรมาภิบาล; และความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี

คำแนะนำที่สำคัญที่คาดว่าจะปรากฏในรายงาน GEO6 คือความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 17 ประการ ตาม’ แผนปฏิบัติการ ‘ของสหประชาชาติ การเปลี่ยนโลกของเรา: วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030’ และใช้เป็นกรอบการดำเนินการต่อไป

ความเร่งด่วนและการดำเนินการ

โลกจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดมลพิษทางอากาศทุกประเภทเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของ WHO ว่าด้วยคุณภาพอากาศและเป้าหมายที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ลอนดอนตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในเรื่องนี้ และได้มีการลงนามระหว่างนาย Sadiq Khan กับ‘Breathe Life’ จัดการร่วมกันระหว่าง WHO, UN Environment และ Clean Climate and Clean Air Coalition เพื่อเชื่อมโยงเมืองที่มีลักษณะคล้ายกันทั่วโลก รวมความเชี่ยวชาญ แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศ

ฉันมุ่งหวังจะทำงานร่วมกับแคมฟิลและคนอื่นๆ อย่างต่อเนื่องเพื่ออากาศที่สะอาด– ทั้งภายในและภายนอกอาคาร!

...

Simon Birkett เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริษัท Clean Air in London มีแคมเปญที่จะปฏิบัติตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก เรื่องคุณภาพอากาศในกรุงลอนดอนและที่อื่นๆ Simon ยังเป็นตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมระดับสูง’และกลุ่มที่ปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างรัฐบาลสำหรับ Global Environment Outlook ครั้งที่หก ในระดับท้องถิ่น Simon เป็นประธานการประชุม Knightsbridge Neighborhood Forum ซึ่งได้ตีพิมพ์แผนร่าง neighbourhood plan ฉบับแรกสำหรับเวสต์มินส์เตอร์ ใจกลางกรุงลอนดอน


Created 6 พฤษภาคม 2562